วันศุกร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2558

การแข่งฟุตซอลชิงแชมป์โลก

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลก[แก้]
การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกเริ่มจัดขึ้นในปี 1989 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีทีมที่ร่วมการแข่งขันทั้งสิ้น 16 ทีม ซึ่งทีมที่ได้แชมป์คือ ทีมชาติบราซิล ซึ่งชนะเนเธอร์แลนด์ 2-1 และตำแหน่งดาวยิงสูงสุดคือ Laszlo Zladany ทีมชาติฮังการี ทำได้ 7 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 2 จัดขึ้นที่ฮ่องกงในปี 1992 และบราซิลก็ได้แชมป์สมัยที่ 2 อย่างสวยงาม ด้วยการถล่มสหรัฐอเมริกา 4-1 ส่วนดาวซัลโวคือ Rajabi Shirazi ทำได้ 16 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 จัดที่สเปนในปี 1996 ทีมชาติบราซิลก็ยังคงครองเจ้าสนามโต๊ะเล็กอีกครั้งด้วยการพิชิตสเปนเจ้าภาพ 6-4 และตำแหน่งดาวซัลโวคือ Manoel ทีมชาติบราซิล 14 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 4 กัวเตมาลา 2000 ซึ่งในครั้งนี้ทีมชาติไทยได้ลงสังเวียนระดับโลกเป็นครั้งแรก ถึงแม้ว่าจะแพ้ทั้ง 3 นัดแต่ก็เป็นการชิมลางในระดับโลกได้เป็นอย่างดี และสเปนรองแชมป์เก่าก็กลับมาทวงแค้นด้วยการเอาชนะบราซิล 4-3 คว้าแชมป์ไปครองอย่างพลิกความคาดหมาย ส่วนดาวซัลโวคือ Manoel Tobias ทีมชาติบราซิล 19 ประตู

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 5 ไทเป 2004 ทีมชาติไทยก็ยังมีโอกาสมาโชว์ฝีเท้าอีกครั้ง และครั้งนี้ยังเก็บได้ 3 แต้ม ด้วยการชนะออสเตรเลีย 3-2 ส่วนแชมป์ตกเป็นของสเปนซึ่งเอาชนะอิตาลี 2-1

การแข่งขันฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 6 จะจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล 2008 ทีมชาติไทยก็ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนจากทวีปเอเชียได้เข้าแข่งขันในครั้งนี้ด้วย

ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 7 ค.ศ. 2012 และประเทศโคลัมเบียได้เป็นเจ้าภาพฟุตซอลชิงแชมป์โลกครั้งที่ 8 ค.ศ. 2016

กติกา

กติกา
กติกาข้อ 1.   สนามแข่งขัน
                สนามแข่งขันต้องเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของเส้นข้างต้องยาวกว่าส้นประตู
                ความยาว                ต่ำสุด  25  เมตร   /    สูงสุด     42  เมตร
                ความกว้าง             ต่ำสุด  15  เมตร   /    สูงสุด     25  เมตร
                การแข่งขันระหว่างชาติ  (International  Matches)
ความยาว                ต่ำสุด  38  เมตร   /    สูงสุด     42  เมตร
                ความกว้าง             ต่ำสุด  18  เมตร   /    สูงสุด     25  เมตร
กติกาข้อ 2.  ลูกบอล
                ลูกบอลต้อง
1.       เป็นทรงกลม
2.       ทำด้วยหนังหรือวัสดุอื่นๆที่เหมาะสม
3.       ความยาวเส้นรอบวงไม่น้อยกว่า  62  เซนติเมตร  และไม่มากกว่า  64  เซนติเมตร
กติกาข้อ  3.  จำนวนผู้เล่น
                การแข่งขัน เล่นโดยผู้เล่นสองทีม  แต่ละทีมประกอบด้วย  ผู้เล่นไม่เกิน  5 คน  และคนหนึ่งในจำนวนนั้นต้องเป็นผู้รักษาประตู   และอนุญาตให้มีผู้เล่นสำรอง จำนวนมากที่สุดไม่เกิน  7  คน
กติกาข้อ  4.   อุปกรณ์ของผู้เล่น
                อุปกรณ์พื้นฐาน 
1.       เสื้อยืดหรือเสื้อเชิ้ต
2.       กางเกงขาสั้น
3.       ถุงเท้ายาว
4.       สนับแข้ง
5.       รองเท้าพื้นเรียบ  พื้นยาง
กติกาข้อ  5.   ผู้ตัดสิน
                อุปกรณ์ผู้ตัดสิน
1.       นกหวีด  ควรมีอย่างน้อย  2  ตัว
2.       ใบเหลือง / ใบแดง   2 ชุด
3.       นาฬิกาจับเวลา  ควรมีอย่างน้อย  4  เรือน
4.       สมุดพกพร้อมปากกา
5.       เข็มวัดลมลูกบอล
6.       เหรียญเสี่ยงเลือกแดน
กติกาข้อ  6.   ผู้ตัดสินที่  2
                ผู้ตัดสินที่ 2 จะต้องปฏิบัติดังนี้
1.       มีอำนาจในการพิจารณาสั่งหยุดการเล่นในทุกกรณีที่มีการกระทำผิดกติกาการแข่งขัน
2.       จะต้องแน่ใจว่าการเปลี่ยนตัวผู้เล่นมีการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
กติกาข้อ  7.   ผู้รักษาเวลาและผู้ตัดสินที่ 3
                หน้าที่ผู้รักษาเวลา
1.       เริ่มจับเวลาของตนเอง หลังจากการเตะเริ่มเล่น
2.       หยุดนาฬิกาเมื่อลูกบอลอยู่นอกการเล่น
3.       เริ่มจับเวลาใหม่ภายหลังจากการเตะเข้าเล่น
4.       ควบคุมการขอเวลานอก 1 นาที
5.       ควบคุมเวลา 2 นาที  ในช่วงระยะเวลาการลงโทษ
6.       แสดงสัญญาณนกหวีดหมดเวลาการแข่งขันครึ่งแรก  และครึ่งหลัง
7.       ทำบันทึกการขอเวลานอกทั้งหมดของแต่ละทีม
8.       ทำบันทึกการทำผิดกติกา 5 ครั้งแรกของแต่ละทีม
9.       ผู้ตัดสินที่ 3 ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยรักษาเวลา
กติกาข้อ  8.  ระยะเวลาการแข่งขัน
                การแข่งขันแบ่งออกเป็น สองครึ่งเท่าๆกัน  ครึ่งละ  20  นาที่
                การขอเวลานอก ในแต่ละครึ่ง  ทีมมีสิทธิ์ขอเวลานอกได้  1 นาที่
                การพักครึ่งเวลาต้องไม่เกิน  15  นาที
กติกาข้อ  9.  การเริ่มการแข่งขันและการเริ่มเล่นใหม่
                การเตะเริ่มเล่น
1.       ในขณะเริ่มต้นการแข่งขัน
2.       ภายหลังจากมีการทำประตูได้
3.       ในขณะเริ่มการแข่งขันในครึ่งเวลาหลัง
4.       ในขณะเริ่มการแข่งขันในแต่ละครึ่งของการต่อเวลาพิเศษที่นำมาใช้
กติกาข้อ  10.  ลูกบอลอยู่ในและนอกการเล่น
                ลูกบอลจะอยู่นอกการเล่นเมื่อ
1.       ลูกบอลได้ผ่านเส้นประตู
2.       ผู้ตัดสินสั่งหยุดการเล่น
3.       กระทบกับเพดาน


ลูกบอลอยู่ในการเล่น
1.       กระดอนจากเสาประตูหรือคานประตูเข้ามาในสนามแข่งขัน
2.       กระดอนจากทั้งผู้ตัดสินและผู้ตัดสินที่สองในขณะที่เขาอยู่ในสนามแข่งขัน
กติกาข้อ  11.  การนับประตู
                ได้นับเป็นประตูเมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านเส้นประตูเข้าไปหมดทั้งลูก
กติกาข้อ  12.  การเล่นที่ผิดกติกาและเสียมารยาท
                การเตะโทษโดยตรง
1.       เตะ
2.       ขัดขา
3.       กระโดด
4.       ชนผู้ต่อสู้
5.       ทำร้าย
6.       ผลักดัน
การเตะโทษโดยอ้อม
1.       เล่นในลักษณะที่เป็นอันตราย
2.       เจตนากีดขวางการเคลื่อนที่ไปข้างหน้าของคู่ต่อสู้
3.       ป้องกันผู้รักษาประตูไม่ให้ปล่อยบอล
กติกาข้อ  13.  การเตะโทษ
                ประเภทของการเตะโทษ
1.       การเตะโทษโดยตรง
2.       การเตะโทษโดยอ้อม
กติกาข้อ  14.  การทำผิดกติการวม
                จะเป็นการลงโทษโดยการเตะโทษโดยตรง   รวม  5  ครั้งแรกของแต่ละทีม
กติกาข้อ  15.  การเตะโทษ ณ จุดโทษ
                การเตะโทษ ณ จุดโทษ  เป็นการลงโทษทีมที่กระทำผิดกติกาข้อหนึ่ง ข้อใด  ซึ่งเป็นโทษโดยตรงภายในเขตโทษของตนเอง  ในขณะที่ลูกบอลอยู่ในการเล่น
กติกาข้อ  16.  การเตะเข้าเล่น
                การเตะเข้าเล่นเป็นวิธีการเริ่มเล่นใหม่อย่างหนึ่ง  ไม่สามารถทำประตูได้จากการเตะเข้าโดยตรงจากการเข้าเล่น
                ตำแหน่งของลูกบอล
1.       ลูกบอลจะต้องวางนิ่งอยู่บนเส้นข้าง
2.       การเตะเข้าเล่นเตะไปในทิศทางใดก็ได้
กติกาข้อ  17.  การเล่นลูกบอลจากประตู
                การเล่นลูกบอลจากประตู เป็นวิธีการเริ่มเล่นใหม่อย่างหนึ่ง  ไม่สามารถทำประตูได้จากการเล่นลูกบอลจากประตู
กติกาข้อ  18.  การเตะจากมุม
                เมื่อลูกบอลทั้งลูกได้ผ่านออกเส้นประตูไปทั้งบนพื้นสนามแข่งขันหรือในอากาศ  โดยผู้เล่นฝ่ายรับสัมผัสลูกบอลเป็นครั้งสุดท้าย

ประวัติฟุตซอล

ประวัติฟุตซอล


ประวัติกีฬาฟุตซอล

     ต้นกำเนิดของฟุตซอล  มาจากการเล่นฟุตบอลแบบข้างละ 5 คน สามารถมองย้อนไปในปี 1930 ที่มอนเตวิโอ ประเทศอุรุกวัย เมื่อฮวน คาร์ลอส เซอเรียนี  ได้นำฟุตบอลข้างละ 5 คนนี้ไปใช้ในในการแข่งขันที่สมาคม YMCA ได้เล่นโดยใช้พื้นที่ของสนามบาสเกตบอลในการเล่น ทั้งภายในและภายนอกโรงยิมจึงทำให้เกิดการเล่นแบบอินดอร์ซอคเกอร์ซึ่งได้รับความสนใจอย่างมากเพราะไม่มีปัญหาด้านสภาพภูมิอากาศ อินดอร์ซอคเกอร์ ได้รับความนิยมและมีคนให้ความสนใจเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ส่วนในประเทศบราซิลมีการกล่าวถึงการพัฒนาฟุตซอลมาจากฟุตบอลข้างถนน กระทั่งปี ค.ศ. 1932 โรเจอร์ เกรน ได้บัญญัติกฎที่เป็นมาตรฐานในการควบคุมการแข่งขันขึ้นและได้ใช้กฎและข้อบังคับนี้ใช้จนมาถึงปัจจุบันนี้

     คำว่าฟุตซอล (Futsal) คือ คำที่นานาประเทศใช้เรียกกีฬาประเภทนี้โดยมีรากศัพท์มาจากประเทศสเปนหรือโปตุเกส ที่เรียก soccer  ว่า "FUTbol" หรือ "FUTebol" และที่ภาษาฝรั่งเศสหรือสเปนเรียก Indoor ว่า " SALa" ที่แปลว่า อินดอร์ หรือในร่ม ซึ่งรวมเป็นคำว่า "fUtSAl" แต่เป็นคำที่มีฐานจากประเทศสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะ "fUtSAl" (USA) คำที่เป็นชื่อของประเทศสหรัฐอเมริกา จึงมีการใช้คำว่า FUTSAL แทน ซึ่งหมายถึง การเตะบอลในสนามขนาดย่อมในร่ม กลายเป็นคำที่เรียกขานกันแทนคำว่า “Five-A-Side” หรือบอล 5 คน นอกจากนั้นการเล่นฟุตซอลกลางแจ้งเมื่อเข้าสู่ช่วงฤดูหนาว ประเทศในบางทวีปของโลกที่ประสบกับปัญหาหิมะตกและสภาพอากาศที่หนาวมากไม่สามารถจัดการแข่งขันกีฬากลางแจ้ง ได้ จึงถือเป็นช่วงสิ้นสุดฤดูกาลแข่งขันแต่เนื่อง จากฤดูหนาวมีระยะเวลาที่ยาวนานและสภาพอากาศกลางแจ้งไม่เอื้ออำนวยต่อการเล่นกีฬาฟุตบอล จึงเป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนหันมาเล่นกีฬาในร่มแทน และนี่คือที่มาของกีฬาฟุตบอลในร่ม 5 คน หรือที่เรียกว่า “ ฟุตซอล” (FUTSAL)

     การแข่งขันฟุตซอลมีการจัดการแข่งขันอยู่เป็นประจำในประเทศแถบอเมริกาใต้ ฟุตซอลจึงเป็นเกมการแข่งขันที่ชาวอเมริกาใต้นิยมเล่นกันมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศบราซิล ซึ่งมีนักกีฬาที่มีทักษะความสามารถเฉพาะตัวในการเล่นฟุตบอลสูง ด้วยลีลาอันเร้าใจ และสนุกสนานจากนักเตะชื่อก้องโลกอย่าง เปเล่ ซิโก้ โซคราเตส เบเบโต้ โรนัลดินโญ่และนักเตะชื่อดังจากบราซิลคนอื่น ๆ จำนวนมากต่างก็เคยเข้าแข่งขันฟุตซอลมาแล้วทั้งสิ้น ในขณะที่บราซิลมีการเล่นอย่างต่อเนื่องและเป็นการเผยแพร่การเล่นฟุตซอลแก่ประเทศอื่น ๆ ในโลก ภายใต้การดูแลของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) และทีมอื่น ๆ ที่มีความสามารถอันยอดเยี่ยมจากทุกมุมโลก 

     การแข่งขันครั้งแรกมีขึ้นในปี ค.ศ. 1965 จัดการแข่งขันครั้งแรกในอเมริกาใต้ ประเทศปารากวัยได้แชมป์ทวีปอเมริกาใต้และในปี ค.ศ. 1979 ทีมชาติบราซิลมีชัยชนะเหนือทีมทั้งหมดที่เข้าร่วมการแข่งขันซึ่งทำให้บราซิลเริ่มโดดเด่นเหนือทีมจากกลุ่ม Pan American ในปี ค.ศ. 1980 และชนะติดต่ออีกครั้งในปี ค.ศ. 1984 อย่างไรก็ตามสหพันธ์ฟุตซอลแห่งสหรัฐอเมริกา (The U.S. Futsal Federation) ถูกก่อตั้งในปี ค.ศ. 1981 นายออสวัลโด การ์เซีย (Osvaldo Garcia) เป็นประธานคนแรกของสหพันธ์ 

     การแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งแรกที่ถูกจัดอย่างไม่เป็นทางการที่กรุงเซาเปาโล ประเทศบราซิล ในปี 1982 และเจ้าภาพบราซิลได้รับชัยชนะ จากนั้นบราซิลมาได้เป็นแชมป์อีกครั้งในปี ค.ศ. 1985 ที่ประเทศสเปน แต่พลาดเป็นแชมป์ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 3 อย่างไรก็ตามบราซิลกลับมากวาดแชมป์โลกอีก 2 ครั้งในปี ค.ศ. 1989 ที่ประเทศฮอลแลนด์ ซึ่งสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ได้เข้ามาดูแลการแข่งขันชิงแชมป์โลกอย่างเป็นทางการครั้งแรก ซึ่งจัดการแข่งขัน ณ ประเทศฮอลแลนด์ และประเทศบราซิลยังครองความเป็นแชมป์ รองแชมป์ได้แก่ประเทศสเปน อันดับสามประเทศรัสเซีย และในปี ค.ศ. 1992 ที่ฮ่องกง ในขณะที่ทีมฟุตซอล จากประเทศสหรัฐอเมริกาได้ตำแหน่งที่ 3 ในปี ค.ศ. 1989 และที่ 2 ในปี ค.ศ. 1992 ในการแข่งขันชิงแชมป์ฟุตซอลโลกนั่นคือตำแหน่งที่สูงที่สุดของทีมจากประเทศสหรัฐอเมริกาในการแข่งขันที่จัดขึ้นโดยสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) แม้ว่าทีมจากทวีปอเมริกาใต้จะมีความยิ่งใหญ่ในช่วงที่ผ่านมา แต่ในปี ค.ศ. 2000 การแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 4 ณ ประเทศกัวเตมาลา ทีมจากประเทศสเปนสามารถล้มแชมป์เก่าสามสมัยอันดับหนึ่งของโลกได้อย่างงดงาม และครองชัยชนะต่อไปอีกในปีค.ศ. 2004 ในการแข่งขันชิงแชมป์โลกครั้งที่ 5 ณ ประเทศไต้หวัน แต่ต่อมาในปี ค.ศ. 2008 ทีมชาติสเปนพ่ายการดวลจุดโทษ 4-3 ประตูภายหลังจากเสมอกัน 2 ประตูต่อ 2 ให้กับทีมชาติบราซิล อย่างไรก็ตามการจัดอับดับของสหพันธ์ฟุตบอลนานาชาติ (FIFA) ทีมชาติสเปนยังคงครองอันดับหนึ่ง ตามด้วยทีมชาติบราซิล และอิตาลีอันดับสาม

     ในปัจจุบันฟุตซอล ( FUTSAL) เป็นกีฬาที่ได้รับความนิยมและสนใจจากทุกเพศทุกวัยเนื่องจากเป็นเกมกีฬาที่ตื่นเต้น สนุกสนานในทุก ๆ นาทีของการแข่งขัน และสามารถเล่นได้ตลอดปี ทุกสภาพอากาศทำให้ ฟุตซอล (FUTSAL) กลายเป็นกีฬายอดนิยมสำหรับศตวรรษที่ 21 นี้
อ้างอิงhttp://sportscience.dpe.go.th/web/main/sportdata.jsp?sport=5&knowledge=7&id=30